หน่วยที่ 10

หน่วยที่ 10 การบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ




               2. แบบจัดโต๊ะเรียงเป็นแถวตามแนวยาวของห้อง มีแถวที่ติดผนังสองแถวที่จัดโต๊ะหันหน้าเข้าผนัง ตรงกลางห้องจะมีแถวของโต๊ะคอมพิวเตอร์ 1-2 แถว  ตามแนวยาวของห้อง ซึ่งแต่ละแถวจะวางโต๊ะให้หันหน้าชนกัน การจัดห้องรูปแบบนี้ จะเหมาะกับห้องที่เนื้อที่ขนาดใหญ่    ผู้เรียนทุกคนสามารถเดินเข้าไปใช้คอมพิวเตอร์ได้สะดวก และครูผู้สอนสามารถเดินดูการปฏิบัติงานของผู้เรียนทุกคน   ได้สะดวกและทั่วถึงเช่นกัน

           ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบนี้เป็นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบเต็มรูปแบบ ที่จะจัดคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนใช้งานเครื่องละ 1 คน    วิชาที่สอนในห้องปฏิบัติการนี้ มักจะเป็นวิชาคอมพิวเตอร์ที่ต้องการฝึกทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์เป็นการเฉพาะ เช่น ความรู้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ การเรียนรู้ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และการใช้ Internet เป็นต้น นอกจากนั้น ห้องปฏิบัติการนี้ สามารถใช้เป็นห้องปฏิบัติการทางภาษาได้ด้วย โดยครูจะใช้สื่อ CD-ROM และมีหูฟัง ให้นักเรียนสิงคโปร์ฝึกทักษะในการฟังและออกเสียงภาษา   ซึ่งภาษาหลักที่นักเรียนทุกคนต้องเรียนคือ ภาษาอังกฤษ     ส่วนภาษาที่ให้นักเรียนเลือกเรียนตามเชื้อชาติ (Mother Tongue) ก็จะมีภาษาจีน มาเลย์ และทมิฬ
                        สำหรับรูปแบบในการจัดห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ประเภทนี้     ที่พบเห็นจากสถานศึกษา ที่ได้ไปเยี่ยมชมนั้น มีการจัดห้องใน 2 รูปแบบ ดังนี้
                    1.    แบบจัดโต๊ะเรียงหน้ากระดาน    จากหน้าห้องเรียงเป็นแถวหน้ากระดานตามแนวขวางไปจนถึงหลัง ห้องเรียน  มีทางเดินตรงกลาง   การจัดห้องปฏิบัติการตามรูปแบบนี้สามารถบรรจุโต๊ะและที่นั่งได้จำนวนมากหรือน้อย จะขึ้นอยู่กับระยะห่างที่เว้นไว้ของแต่ละแถว หากระยะห่างของแถวจัดไว้ชิดกันมาก      จะสามารถบรรจุโต๊ะและที่นั่งในห้องนี้ได้เป็นจำนวนมาก แต่จะมีปัญหาในการเดินเข้าออก ของผู้เรียนที่นั่งด้านในสุดของแต่ละแถว เพราะทางเข้าออกจะแคบไม่สะดวกมากนัก


รูปแบบที่ 1

                           2.   แบบจัดโต๊ะเรียงเป็นแถวตามแนวยาวของห้อง มีแถวที่ติดผนังสองแถวที่จัดโต๊ะหันหน้าเข้าผนัง ตรงกลางห้องจะมีแถวของโต๊ะคอมพิวเตอร์ 1-2 แถว  ตามแนวยาวของห้อง ซึ่งแต่ละแถวจะวางโต๊ะให้หันหน้าชนกัน การจัดห้องรูปแบบนี้ จะเหมาะกับห้องที่เนื้อที่ขนาดใหญ่    ผู้เรียนทุกคนสามารถเดินเข้าไปใช้คอมพิวเตอร์ได้สะดวก และครูผู้สอนสามารถเดินดูการปฏิบัติงานของผู้เรียนทุกคน   ได้สะดวกและทั่วถึงเช่นกัน
 


                        การควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างการสอนของครูนั้น    ครูจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์กลางที่สามารถดูการปฏิบัติงานและควบคุมหน้าจอของผู้เรียนทุกจอได้    ตามภาพข้างล่างนี้




แผงควบคุมที่ครูผู้สอนใช้ควบคุมหน้าจอคอมพิวเตอร์ของนักเรียนทุกเครื่อง

                     สำหรับห้องปฏิบัติการแบบแรกที่จัดโต๊ะเรียงแบบหน้ากระดานนั้น จะมีผู้เรียนจำนวนมากและการเข้าออกของผู้ที่อยู่ด้านในสุดค่อนข้างลำบาก ดังนั้นในการบริหารและควบคุมห้องของครูผู้สอน   จะมีการกำหนดให้ผู้นั่งหัวแถวมีหน้าที่จะต้องคอยดูแลและให้บริการรับ-ส่งเอกสาร   แผ่นโปรแกรม  หรือสิ่งอื่น ๆ ให้กับเพื่อน ๆ ที่นั่งภายในแถว เพื่อลดความวุ่นวายในการเดินเข้า-ออกของนักเรียนที่นั่งอยู่ด้านใน




                      นอกจากนั้นครูจะมอบหมายให้นักเรียนเก่ง ๆ ของห้อง (2-3 คน)    ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยครูในการอธิบายข้อสงสัยเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับเพื่อนในขณะที่ครูกำลัง สอนอยู่หน้าชั้นเรียน   สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งภายในห้องปฏิบัติคอมพิวเตอร์ทุกห้อง คือจะมีการติดตั้งกระจกนูนบานเล็ก ไว้ที่หน้าชั้นเรียนด้วย   เพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูได้มองการปฏิบัติงานของนักเรียนทั้งห้องได้จากกระจกบานนี้       
           


กระจกนูนบานเล็กที่ติดตั้งไว้หน้าชั้นเรียนของห้องปฏิบัติคอมพิวเตอร์






                        ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบนี้ จะจัดโต๊ะให้นักเรียนนั่งเป็นกลุ่ม ๆ ละ 2-3 คน แต่ละกลุ่มจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ใช้ปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 เครื่อง       และเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีทั้งแบบ PC และแบบ Notebook       นักเรียนแต่ละกลุ่มจะใช้คอมพิวเตอร์เพื่อศึกษาและค้นหาข้อมูลจากแผ่น CD-ROM       ที่เป็นแบบมัลติมีเดีย (Multimedia)   หรือค้นหาข้อมูลจากเวปไซด์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต      หลังจากศึกษาและค้นหาข้อมูลแล้ว   กลุ่มก็จะนำข้อมูลมาช่วยกันวิเคราะห์ อภิปรายผล  และหาข้อสรุปร่วมกัน    ในการศึกษาเป็นกลุ่มนี้ นักเรียนจะปฏิบัติตามใบงานที่ครูได้มอบให้ก่อนเริ่มการเรียน ครูอาจจะจัดให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มได้เรียนและศึกษากันคนละเนื้อหาในเวลาเดียวกัน    แล้วครูผู้สอนจะกำหนดเวลาในการศึกษาเนื้อหาของแต่ละกลุ่ม         และแต่ละกลุ่มจะเวียนกันไปศึกษาเนื้อหาในกลุ่มอื่น ๆ    ตามเวลาที่กำหนดจนครบทุกกลุ่มทุกเนื้อหา     เป็นการจัดการเรียนแบบ IT Based Lesson  นักเรียนจะสนุกสนานในการเรียนรู้ เนื้อหาวิชาต่าง ๆ ด้วยตนเอง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น